โรคสมาธิสั้น (Attention-deficit hyperactivity disorder: ADHD)

homepage

โรคสมาธิสั้น (Attention-deficit hyperactivity disorder: ADHD)


ADHD vs. ADD

เดิมทีโรคสมาธิสั้นใช้ชื่อว่า Attention deficit disorder (ADD) จนถึงปี ค.ศ. 1987 ก่อนที่จะมีการเพิ่มคำว่า hyperactivity เข้าไป ตามที่ระบุไว้ใน Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders ในปัจจุบันยังมีการใช้คำว่า ADD และ ADHD ในความหมายเดียวกัน  หรือบางคนอาจเรียกเด็กที่มีปัญหาเฉพาะด้านสมาธิแต่ไม่ซนว่าเป็นกลุ่ม ADD แต่ผู้เชี่ยวชาญส่วนมากเห็นด้วยว่าคำว่า ADD ถือเป็นคำที่ล้าสมัยไปแล้วและการใช้คำนี้เป็นการระบุถึงโรคที่อาจทำให้เกิดความสับสนได้ เพราะว่าโรค ADHD ก็มีประเภทย่อยต่างๆ ที่สามารถอธิบายแต่ละภาวะได้อยู่แล้ว

โรคสมาธิสั้นเกิดจากอะไร

มีสาเหตุหลักจากความบกพร่องในการทำงานของสมองส่วนหน้าที่ควบคุมสมาธิ การยับยั้งชั่งใจ และการเคลื่อนไหวของร่างกาย ทำให้โรคนี้มีอาการสำคัญ 3 อย่าง ได้แก่ อาการสมาธิสั้น  อาการขาดความยั้งคิด หรือหุนหันพลันแล่น  และพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง หากเป็นในเด็กจะมีพฤติกรรมซนกว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน  โรคนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสติปัญญา เพราะเมื่อเด็กสมาธิสั้นได้รับการรักษาอย่างถูกต้องก็สามารถเรียนรู้รู้ได้เหมือนเด็กปกติ 

โรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่

โรคสมาธิสั้นพบได้ในประชากรผู้ใหญ่ประมาณ 4% ในประเทศสหรัฐอเมริกา อ้างอิงจากสถาบันสุขภาพจิตแห่งชาติ (National Institute of Mental Health หรือ NIMH) ผู้ใหญ่ซึ่งเป็นโรคนี้ทุกคนมีอาการตั้งแต่เด็กแต่อาจจะไม่ได้รับการวินิจฉัย หรือยังไม่รู้จัก ไม่มีความรู้ในโรคนี้  ผู้ปกครอง หรือพ่อแม่คิดว่า เป็นเด็กนิสัยดื้อรั้น 

อาการโรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่ที่พบบ่อย

เช่น มาทำงานสายเป็นประจำ  ทำงานตกๆ หล่นๆ  ทำงานผิดพลาดจนถูกตำหนิบ่อยครั้ง เหม่อลอยเวลาทำงานที่ต้องใช้สมาธิ  เบื่อง่าย  ทำอะไรนานๆ ไม่ได้ หลงๆ ลืมๆ  ส่งงานไม่ทันตามกำหนด  พูดแทรกคนอื่น  เครียด  หงุดหงิดง่าย  ผู้ป่วยโรคนี้หลายคนไม่รู้ว่า ตนเองมีภาวะนี้ พวกเขาอาจรู้แค่ว่าสิ่งต่างๆ ที่ต้องทำในแต่ละวันนั้นเป็นเรื่องที่ลำบากและท้าทายเท่านั้น  นั่นจึงทำให้ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม  ส่วนคนรอบข้างก็ไม่เข้าใจทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมามากมาย จนทำให้เกิดปัญหาทั้งเรื่องงาน เรื่องส่วนตัว ความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง 
บางคนอาจสังเกตว่าอาการของตนเองค่อยๆ ดีขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น ในขณะที่อีกหลายคนยังคงมีอาการอยู่ต่อเนื่อง

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคสมาธิสั้น

ผู้เชี่ยวชาญยังคงไม่แน่ใจว่าโรคนี้เกิดจากอะไร ปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคสมาธิสั้นในเด็ก ประกอบด้วย
  • พันธุกรรม (โรคนี้มีการถ่ายทอดในครอบครัว) แม้ว่าจะยังไม่สามารถระบุ gene ที่ชัดเจนได้
  • การสัมผัสสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะตะกั่ว
  • การใช้แอลกอฮอล์ หรือการสูบบุหรี่ระหว่างตั้งครรภ์
  • การเกิดอันตรายต่อสมอง
  • การคลอดก่อนกำหนด หรือน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์

ภาวะแทรกซ้อนของโรคสมาธิสั้น

หากไม่ได้รับการรักษา โรคนี้อาจทำให้เกิดปัญหาแทรกซ้อนตามมาได้ เช่น
  • ล้มเหลวทางการศึกษา
  • ไม่มีความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
  • มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ
  • เกิดอุบัติเหตุและได้รับบาดเจ็บบ่อยครั้ง
  • การติดแอลกอฮอล์ หรือยาเสพติด
  • พฤติกรรมที่ผิดกฏหมาย
  • มีปัญหาในการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน
  • เพื่อนน้อย หรือแทบไม่มีสังคม

โรคที่สามารถเกิดร่วมกันได้

เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นยังอาจมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคอื่นร่วมด้วย เช่น
  • โรควิตกกังวล
  • ความบกพร่องทางการเรียนรู้
  • โรคซึมเศร้า
  • โรคสองขั้ว (ภาวะที่มีอาการทั้งซึมเศร้าและ mania)
  • โรคดื้อ (Oppositional defiant disorder หรือ ODD) เป็นโรคที่มีอาการต่อต้านกฎระเบียบทุกรูปแบบ
  • โรคเกเร (Conduct disorder) เป็นโรคที่มีพฤติกรรมเช่นการโกหก ขโมยของ ต่อสู้ หรือล้อเลียนผู้อื่น
  • Tourette syndrome เป็นกลุ่มอาการความผิดปกติทางระบบประสาทที่จะมีพฤติกรรมซ้ำๆ โดยไม่ได้ตั้งใจ
  • ปัญหาทางการนอนหลับ
  • ปัสสาวะรดที่นอน
เมื่ออ่านบทความนี้จบ หากมีข้อสงสัยว่า คุณ หรือคนที่คุณรัก มีพฤติกรรมการแสดงออกซึ่งมีแนวโน้มใกล้เคียงโรคสมาธิสั้น ควรไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง หรือจิตแพทย์ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย หาข้อบ่งชี้ และรับการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป หากป่วยจะได้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพและมีความสุขมากยิ่งขึ้น 
อ้างอิง 

โรคสมาธิสั้นเกิดจากอะไร

มีสาเหตุหลักจากความบกพร่องในการทำงานของสมองส่วนหน้าที่ควบคุมสมาธิ การยับยั้งชั่งใจ และการเคลื่อนไหวของร่างกาย ทำให้โรคนี้มีอาการสำคัญ 3 อย่าง ได้แก่ อาการสมาธิสั้น  อาการขาดความยั้งคิด หรือหุนหันพลันแล่น  และพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง หากเป็นในเด็กจะมีพฤติกรรมซนกว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน  โรคนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสติปัญญา เพราะเมื่อเด็กสมาธิสั้นได้รับการรักษาอย่างถูกต้องก็สามารถเรียนรู้รู้ได้เหมือนเด็กปกติ 

โรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่

โรคสมาธิสั้นพบได้ในประชากรผู้ใหญ่ประมาณ 4% ในประเทศสหรัฐอเมริกา อ้างอิงจากสถาบันสุขภาพจิตแห่งชาติ (National Institute of Mental Health หรือ NIMH) ผู้ใหญ่ซึ่งเป็นโรคนี้ทุกคนมีอาการตั้งแต่เด็กแต่อาจจะไม่ได้รับการวินิจฉัย หรือยังไม่รู้จัก ไม่มีความรู้ในโรคนี้  ผู้ปกครอง หรือพ่อแม่คิดว่า เป็นเด็กนิสัยดื้อรั้น 

อาการโรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่ที่พบบ่อย

เช่น มาทำงานสายเป็นประจำ  ทำงานตกๆ หล่นๆ  ทำงานผิดพลาดจนถูกตำหนิบ่อยครั้ง เหม่อลอยเวลาทำงานที่ต้องใช้สมาธิ  เบื่อง่าย  ทำอะไรนานๆ ไม่ได้ หลงๆ ลืมๆ  ส่งงานไม่ทันตามกำหนด  พูดแทรกคนอื่น  เครียด  หงุดหงิดง่าย  ผู้ป่วยโรคนี้หลายคนไม่รู้ว่า ตนเองมีภาวะนี้ พวกเขาอาจรู้แค่ว่าสิ่งต่างๆ ที่ต้องทำในแต่ละวันนั้นเป็นเรื่องที่ลำบากและท้าทายเท่านั้น  นั่นจึงทำให้ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม  ส่วนคนรอบข้างก็ไม่เข้าใจทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมามากมาย จนทำให้เกิดปัญหาทั้งเรื่องงาน เรื่องส่วนตัว ความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง 
บางคนอาจสังเกตว่าอาการของตนเองค่อยๆ ดีขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น ในขณะที่อีกหลายคนยังคงมีอาการอยู่ต่อเนื่อง

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคสมาธิสั้น

ผู้เชี่ยวชาญยังคงไม่แน่ใจว่าโรคนี้เกิดจากอะไร ปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคสมาธิสั้นในเด็ก ประกอบด้วย
  • พันธุกรรม (โรคนี้มีการถ่ายทอดในครอบครัว) แม้ว่าจะยังไม่สามารถระบุ gene ที่ชัดเจนได้
  • การสัมผัสสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะตะกั่ว
  • การใช้แอลกอฮอล์ หรือการสูบบุหรี่ระหว่างตั้งครรภ์
  • การเกิดอันตรายต่อสมอง
  • การคลอดก่อนกำหนด หรือน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์

ภาวะแทรกซ้อนของโรคสมาธิสั้น

หากไม่ได้รับการรักษา โรคนี้อาจทำให้เกิดปัญหาแทรกซ้อนตามมาได้ เช่น
  • ล้มเหลวทางการศึกษา
  • ไม่มีความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
  • มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ
  • เกิดอุบัติเหตุและได้รับบาดเจ็บบ่อยครั้ง
  • การติดแอลกอฮอล์ หรือยาเสพติด
  • พฤติกรรมที่ผิดกฏหมาย
  • มีปัญหาในการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน
  • เพื่อนน้อย หรือแทบไม่มีสังคม

โรคที่สามารถเกิดร่วมกันได้

เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นยังอาจมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคอื่นร่วมด้วย เช่น
  • โรควิตกกังวล
  • ความบกพร่องทางการเรียนรู้
  • โรคซึมเศร้า
  • โรคสองขั้ว (ภาวะที่มีอาการทั้งซึมเศร้าและ mania)
  • โรคดื้อ (Oppositional defiant disorder หรือ ODD) เป็นโรคที่มีอาการต่อต้านกฎระเบียบทุกรูปแบบ
  • โรคเกเร (Conduct disorder) เป็นโรคที่มีพฤติกรรมเช่นการโกหก ขโมยของ ต่อสู้ หรือล้อเลียนผู้อื่น
  • Tourette syndrome เป็นกลุ่มอาการความผิดปกติทางระบบประสาทที่จะมีพฤติกรรมซ้ำๆ โดยไม่ได้ตั้งใจ
  • ปัญหาทางการนอนหลับ
  • ปัสสาวะรดที่นอน
เมื่ออ่านบทความนี้จบ หากมีข้อสงสัยว่า คุณ หรือคนที่คุณรัก มีพฤติกรรมการแสดงออกซึ่งมีแนวโน้มใกล้เคียงโรคสมาธิสั้น ควรไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง หรือจิตแพทย์ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย หาข้อบ่งชี้ และรับการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป หากป่วยจะได้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพและมีความสุขมากยิ่งขึ้น 

โรคสมาธิสั้นเกิดจากอะไร

มีสาเหตุหลักจากความบกพร่องในการทำงานของสมองส่วนหน้าที่ควบคุมสมาธิ การยับยั้งชั่งใจ และการเคลื่อนไหวของร่างกาย ทำให้โรคนี้มีอาการสำคัญ 3 อย่าง ได้แก่ อาการสมาธิสั้น  อาการขาดความยั้งคิด หรือหุนหันพลันแล่น  และพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง หากเป็นในเด็กจะมีพฤติกรรมซนกว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน  โรคนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสติปัญญา เพราะเมื่อเด็กสมาธิสั้นได้รับการรักษาอย่างถูกต้องก็สามารถเรียนรู้รู้ได้เหมือนเด็กปกติ 

โรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่

โรคสมาธิสั้นพบได้ในประชากรผู้ใหญ่ประมาณ 4% ในประเทศสหรัฐอเมริกา อ้างอิงจากสถาบันสุขภาพจิตแห่งชาติ (National Institute of Mental Health หรือ NIMH) ผู้ใหญ่ซึ่งเป็นโรคนี้ทุกคนมีอาการตั้งแต่เด็กแต่อาจจะไม่ได้รับการวินิจฉัย หรือยังไม่รู้จัก ไม่มีความรู้ในโรคนี้  ผู้ปกครอง หรือพ่อแม่คิดว่า เป็นเด็กนิสัยดื้อรั้น 

อาการโรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่ที่พบบ่อย

เช่น มาทำงานสายเป็นประจำ  ทำงานตกๆ หล่นๆ  ทำงานผิดพลาดจนถูกตำหนิบ่อยครั้ง เหม่อลอยเวลาทำงานที่ต้องใช้สมาธิ  เบื่อง่าย  ทำอะไรนานๆ ไม่ได้ หลงๆ ลืมๆ  ส่งงานไม่ทันตามกำหนด  พูดแทรกคนอื่น  เครียด  หงุดหงิดง่าย  ผู้ป่วยโรคนี้หลายคนไม่รู้ว่า ตนเองมีภาวะนี้ พวกเขาอาจรู้แค่ว่าสิ่งต่างๆ ที่ต้องทำในแต่ละวันนั้นเป็นเรื่องที่ลำบากและท้าทายเท่านั้น  นั่นจึงทำให้ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม  ส่วนคนรอบข้างก็ไม่เข้าใจทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมามากมาย จนทำให้เกิดปัญหาทั้งเรื่องงาน เรื่องส่วนตัว ความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง 
บางคนอาจสังเกตว่าอาการของตนเองค่อยๆ ดีขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น ในขณะที่อีกหลายคนยังคงมีอาการอยู่ต่อเนื่อง

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคสมาธิสั้น

ผู้เชี่ยวชาญยังคงไม่แน่ใจว่าโรคนี้เกิดจากอะไร ปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคสมาธิสั้นในเด็ก ประกอบด้วย
  • พันธุกรรม (โรคนี้มีการถ่ายทอดในครอบครัว) แม้ว่าจะยังไม่สามารถระบุ gene ที่ชัดเจนได้
  • การสัมผัสสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะตะกั่ว
  • การใช้แอลกอฮอล์ หรือการสูบบุหรี่ระหว่างตั้งครรภ์
  • การเกิดอันตรายต่อสมอง
  • การคลอดก่อนกำหนด หรือน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์

ภาวะแทรกซ้อนของโรคสมาธิสั้น

หากไม่ได้รับการรักษา โรคนี้อาจทำให้เกิดปัญหาแทรกซ้อนตามมาได้ เช่น
  • ล้มเหลวทางการศึกษา
  • ไม่มีความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
  • มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ
  • เกิดอุบัติเหตุและได้รับบาดเจ็บบ่อยครั้ง
  • การติดแอลกอฮอล์ หรือยาเสพติด
  • พฤติกรรมที่ผิดกฏหมาย
  • มีปัญหาในการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน
  • เพื่อนน้อย หรือแทบไม่มีสังคม

โรคที่สามารถเกิดร่วมกันได้

เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นยังอาจมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคอื่นร่วมด้วย เช่น
  • โรควิตกกังวล
  • ความบกพร่องทางการเรียนรู้
  • โรคซึมเศร้า
  • โรคสองขั้ว (ภาวะที่มีอาการทั้งซึมเศร้าและ mania)
  • โรคดื้อ (Oppositional defiant disorder หรือ ODD) เป็นโรคที่มีอาการต่อต้านกฎระเบียบทุกรูปแบบ
  • โรคเกเร (Conduct disorder) เป็นโรคที่มีพฤติกรรมเช่นการโกหก ขโมยของ ต่อสู้ หรือล้อเลียนผู้อื่น
  • Tourette syndrome เป็นกลุ่มอาการความผิดปกติทางระบบประสาทที่จะมีพฤติกรรมซ้ำๆ โดยไม่ได้ตั้งใจ
  • ปัญหาทางการนอนหลับ
  • ปัสสาวะรดที่นอน
เมื่ออ่านบทความนี้จบ หากมีข้อสงสัยว่า คุณ หรือคนที่คุณรัก มีพฤติกรรมการแสดงออกซึ่งมีแนวโน้มใกล้เคียงโรคสมาธิสั้น ควรไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง หรือจิตแพทย์ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย หาข้อบ่งชี้ และรับการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป หากป่วยจะได้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพและมีความสุขมากยิ่งขึ้น 

                                                  homepage
อ้างอิง https://www.honestdocs.co/adhd




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

hompage